19 มิถุนายน 2565
How To Evaluate Your Startup Idea

   สิ่งที่ทำให้ startup เกิดขึ้นมาได้แต่แรกนั้นก็คือไอเดียที่จะแก้ปัญหาบางอย่าง อย่างไรก็ตามหลาย ๆ ทีมก็มีอันจำเป็นต้องหยุดทำต่อเพราะไอเดียที่เราคิดขึ้นมานั้นมันไปต่อไม่ได้หรือติดกับดักบางอย่างอยู่ คำถามคือแล้วเราพอจะมีวิธีมอง วิธีดูคร่าว ๆ ไหมนะว่าไอเดียไหนคือ “ไอเดียที่ใช่” วันนี้ MAX knowledge blog จะพาทุกคนมาดูวิธีและมุมมองในการประเมินไอเดียของตัวเองคร่าว ๆ ว่ามีความเป็นไปได้และมีโอกาสเติบโตขนาดไหนกันนะ


   เริ่มแรกต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า startup กันก่อน startup มีนิยามที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่สิ่งนึงที่มีร่วมกันคือ เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นแล้วหากไอเดียของคุณมันสามารถทำเงินได้แต่เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป แบบนั้นเราจะเรียกว่าเป็น “ไอเดียธุรกิจ” แต่จะยังไม่สามารถเรียกว่า “ไอเดีย startup” เพราะขาดในส่วนของความเร็วในการเติบโตนั่นเอง ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถประเมินไอเดีย startup ของคุณได้ สมมติฐานใหญ่ที่สุดที่คุณจะต้องตั้งและตอบมันให้ได้คือ “ทำไม startup ของคุณถึงจะสามารถเติบโตได้ไว”

     

ในการตอบสมมติฐานนี้มี 3 ประเด็นที่คุณจะต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์มันออกมา ได้แก่


  1. Problem : คุณต้องเคลียร์ว่าปัญหานี้มันมีช่องว่างให้เติบโตไวได้ยังไง เช่น ปัญหานี้มีคนเจอมันเยอะมาก และจำนวนคนที่มีปัญหากำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และปัญหานี้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรถูกรีบแก้ไหม แน่นอนว่าถ้ามันเร่งด่วนคนก็ยินดีที่จะทำยังไงก็ได้เพื่อจะจัดการมันได้เร็วที่สุด หรือก็คือจ่ายเงินให้บริการของคุณซึ่งแก้ปัญหาดังกล่าวได้ นอกจากนี้มันเกิดขึ้นบ่อย ๆ ครั้งไหมหรือมันเกิดครั้งเดียวแล้วไม่เกิดขึ้นอีกเลย ซึ่งถ้าเป็นอย่างอาจจะไม่ใช่อะไรที่ยั่งยืนสักเท่าไหร่

  2. Solution : ทางออกที่คุณเสนอนอกจากแก้ปัญหาได้แล้วจะทำให้คุณเติบโตไวได้อย่างไร อย่าเริ่มที่สิ่งนี้ ไม่งั้นอาจต้องไปหาปัญหาที่ fit กับมัน มันถึงมีคำว่า problem solution fit ไม่ใช่ solution problem fit ดังนั้นทัศนคติที่ควรมีคือ problem คือสิ่งนี้แล้วเราจะทำยังไงก็ได้ทุกวิธีทางที่ทำได้เพื่อแก้มัน

  3. Insight : สุดท้ายคือคุณต้องมีข้อมูลเชิงลึกเพื่อประกอบการอธิบายเหตุผลได้ว่า ทำไมสมมติฐานเกี่ยวกับไอเดียของเรามันจะสำเร็จได้จริง ๆ โดยอาจการมองออกเป็น 5 ด้านหลัก ๆ ได้แก่

  • Founder : คุณและผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจเป็นผู้เชี่ยวชาญติด top 10 ในตลาดที่คุณกำลังเข้าไปเล่นไหม ถ้าใช่สิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญเลยที่จะทำให้คุณได้เปรียบเรื่องข้อมูลเชิงลึกมาก ๆ

  • Market : ตลาดนี้เป็นตลาดที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องไหม และเติบโตขึ้นปีละเท่าไหร่ ยิ่งอัตราการเติบโตสูงมันก็เหมือนวิ่งไปทางเดียวกับทิศทางลง คุณไม่ได้กำลังต้องฝืนกระแสความต้องการของโลกทำให้มันสามารถทำอะไรได้ง่ายกว่า ขายได้เยอะกว่า

  • Product : สินค้าหรือบริการของคุณที่มีอยู่สามารถทำบางอย่างได้ดีกว่าชาวบ้านสัก 10 เท่าไหม อาจจะเป็นการโหลดไวกว่า, ถูกกว่า, หรือใช้ความพยายามในการใช้งานน้อยกว่า สิ่วงนี้จะทำให้เมื่อคุณออกสู่ตลาดคู่แข่งจะไม่สามารถตามทันได้ไวขนาดนั้น หรืออาจไม่ทันด้วยซ้ำไป

  • Acquisition : สินค้าหรือบริการของคุณสามารถทำเงินได้เองบ้างไหม ทำได้ต่อเนื่องไหม หรือจำเป็นต้องยิง ad ใช้โปรโมชั่นการโฆษณาใช้เงินเพื่อสร้างยอดตลอด ถ้าแบบนั้นมันอาจจะสื่อถึงว่ารูปแบบ business model ของคุณหรือตัว product เองมันอาจยังไม่น่าดึงดูดมากพอ

  • Monopoly : คุณมีบางอย่างที่สามารถทำให้คุณยึดของตลาดของคุณได้ที่ไม่มีใครทำตามได้เลยรึเปล่า อาจจะเป็นการจดสิทธิบัตร, ผลงานศึกษาวิจัยของคุณที่ทำมานับ 10 ปี หรือข้อกฏหมายบางอย่างก็เป็นได้


   สุดท้ายนี้เราอยากให้ทุกคนได้ตระหนักไว้เสมอว่าวิธีการประเมินที่เราได้นำเสนอไปนั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งเท่านั้น คุณอาจจะนำหลาย ๆ วิธีมาผสมกันหรือพบว่ามีวิธีมองที่เหมาะกับตัวไอเดียของคุณหรือทีมมากกว่าก็ได้ ดังนั้นไม่จำเป็นได้ยึดติดกับวิธีใดวิธีหนึ่ง ใช้วิธีที่เชื่อมั่นว่าเหมาะกับตัวเราที่สุด


สุดท้ายนี้ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก Y Combinator แล้วพบกันใหม่ใน MAX Startup knowledge ครั้งหน้า :)

อ้างอิงจาก https://www.youtube.com/watch?v=DOtCl5PU8F0\

Blog
view more
เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดสำหรับคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์
ถือเป็นการยอมรับในนโยบายความเป็นส่วนบุคคล อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่